ตอนที่ 3 ความรู้พื้นฐานการ Backup

ตอนที่ 3 ความรู้พื้นฐานการ Backup

ก่อนการใช้งาน Veeam Backup & Replication เราควรทำความรู้จักกับพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญของการ Backup กันก่อน รวมถึงการคำนวณพื้นที่และ Bandwidth ที่ต้องการใช้งานสำหรับการ Backup ซึ่งพื้นฐานในบทนี้สามารถนำไปใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ได้

ประโยชน์ของการ Backup

การ Backup คือ การคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลต้นฉบับออกเป็นหลายๆ ชุดเก็บไว้ตามวันเวลาที่กำหนด เพื่อเวลาข้อมูลต้นฉบับมีปัญหาจนไม่สามารถเรียกใช้งานได้ ไม่ว่าเกิดการสูญหาย หรือเกิดความเสียหายบางส่วน ก็จะได้นำข้อมูลที่สำเนาไว้ในแต่ละชุดกลับมาใช้งานได้เกือบเทียบเท่าของเดิม

  • กู้คืนข้อมูลที่มีปัญหากลับมาจากความผิดพลาดต่างๆ ของผู้ใช้
  • ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลที่เกิดจาก Hacker หรือไวรัสที่เข้ามาทำลายข้อมูล
  • ลดความผิดพลาดในการย้ายข้อมูลหรือการอัปเกรดระบบ
  • ป้องกันข้อมูลสูญหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด
  • ใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ผ่านมากับข้อมูลในปัจจุบัน

ประเภทของการ Backup

โดยหลักแล้วการ Backup แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. Full Backup หรือ Normal Backup เป็นการ Backup พื้นฐานที่จะทำการ Backup ข้อมูลทั้งหมดทุกครั้ง โดยไม่สนใจว่าจะเป็นข้อมูลเก่าหรือไม่ และข้อมูลจะมีความซ้ำซ้อนหรือไม่ ข้อดี คือ โอกาสผิดพลาดน้อยและการ Restore ข้อมูลกลับมา ไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้รวดเร็ว เพราะเพียงแค่เอาไฟล์ล่าสุดกลับมา ก็จะได้ข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ต้นจนถึงล่าสุด แต่ข้อเสีย คือ ทำให้การเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน และเสียเวลาในการ Backup

2. Incremetal Backup เป็นการ Backup เฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเข้ามาใหม่เท่านั้น ไม่ได้เป็นการ Backup ข้อมูลทั้งหมด ข้อดี คือ ใช้เวลาในการ Backup ไม่นาน ทำได้รวดเร็ว แต่ข้อเสีย คือ การ Restore ข้อมูลกลับ ต้องมีไฟล์ Backup ที่ครบสมบูรณ์จึงจะสามารถนำข้อมูลกลับได้ทั้งหมด

3. Differential Backup เป็นการ Backup ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเข้ามาใหม่ โดยดูจากการ Backup แบบ Full Backup ครั้งล่าสุด เช่น หากวันจันทร์สั่ง Full Backup วันอังคารสั่ง Differential ก็จะมีการ Backup เฉพาะข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาใหม่ของวันอังคาร์ ต่อมาวันพุธสั่ง Differential เหมือนกัน ก็จะมีการ Backup ข้อมูลทั้งของวันอังคารและวันพุธ การ Backup แบบนี้มีข้อดี คือ ใช้เวลา Backup ไม่นาน ไฟล์ที่ได้จากการ Backup น้อยกว่าแบบ Incremental ข้อเสีย คือ มีประสิทธิภาพปานกลาง ไม่ได้เร็วหรือช้าที่สุด

Synthetic Full Backup

Synthetic Full Backup หรืออาจเรียกว่าเป็นการทำ Reversed Incremental ก็ได้ โดยปกติจะเป็นการ Backup แบบ Incremental แต่เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะทำการรวมเอา Incremental ทั้งหมดมาเป็น Full Backup

            ตัวอย่างเช่น วันจันทร์มีการทำ Full Backup จากนั้น วันอังคาร, พุธ, พฤหัส จะเป็นการทำ Incremental จนถึงวันศุกร์จะรวมเอาทั้งหมดมาเป็น Full Backup

หลักการ Backup ข้อมูลตามมาตรฐาน ISO

การ Backup ข้อมูลให้ได้มาตรฐาน ISO ไม่ว่าจะเป็น ISO-9000 / ISO-28000 หรือ ISO-27001 หรืออื่นๆ มีแนวทาง ดังนี้

  1. Media ที่ใช้ในการ Backup จะต้องมีอย่างน้อย 2 ชุด
  2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ Backup จะต้องมีความสามารถในการทำ Full System Backup และ Restore ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีการจัดทำแผนงานและตารางในการ Backup หรือ Restore เก็บไว้ เช่น Backup ทุกวันตอนกี่โมง, แต่ละวันใช้การ Backup ประเภทไหน และต้องมีการทำบันทึกผลการ Backup หรือ Restore ที่ตรวจสอบได้ (ควรต้องให้ความสำคัญกับการ Restore ด้วย เพราะหากไม่มีแผนทดสอบการ Restore ก็อาจทำให้ไม่ผ่านการประเมิณของ Audit ได้ว่าไม่สอดคล้องกับแผนที่กำหนด)
  4. ต้องมีการทำ Offside Backup ข้อมูลที่มีการ Backup จะต้องจัดเก็บไว้ 2 ชุด ซึ่งชุดหนึ่งจะต้องถูกนำเก็บไว้ที่ข้างนอกบริษัทหรือองค์กรอย่างน้อย 10 กิโลเมตรขึ้นไป และต้องมีบันทึกการรับส่ง Media ที่ใช้ในการ Backup ให้สามารถตรวจสอบได้
  5. ต้องมีการทำ DR Site (Disaster Recovery) จะต้องมีการสำรองข้อมูลระหว่างสาขาได้ ทั้งในรูปแบบของการร้องขอการ Backup และ Restore (Hot site) เมื่อต้องการ หรือการ Backup แบบตลอดเวลา Realtime (Cool site)

รู้จักค่า RPO และ RTO

RPO (Recovery Point Objective) คือ จุดหรือตำแหน่งของข้อมูลที่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น หากข้อมูลเกิดความเสียหายตอน 15.00 แต่ข้อมูลที่สามารถกู้กลับมาได้เป็นข้อมูลตอน 12.00 แสดงว่าค่า RPO จะเท่ากับ 3 ชั่วโมง

RTO (Recovery Time Objective) คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการกู้ข้อมูล เช่น เครื่อง File Server ล่มไปจนไม่สามารถใช้งานได้ ต้องใช้เวลานานกี่ชั่วโมงในการทำให้ข้อมูลและ Service ของ File Server สามารถกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม

Close Menu